ผ่านฉลุยแล้ว กฎหมายสมรสเท่าเทียม ประเทศแรกในอาเซียน

Last updated: 7 ธ.ค. 2567  |  286 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผ่านฉลุยแล้ว กฎหมายสมรสเท่าเทียม ประเทศแรกในอาเซียน

ประเทศแรกในอาเซียน! วุฒิสภา ผ่านร่าง กฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยสามารถใช้บังคับได้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วันวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ในการประชุมวุฒิสภาพ ที่มี พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ) พ.ศ. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระ 2-3ที่ประชุมลงมติเห็นชอบ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ด้วยคะแนน 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง โดยมีผู้ลงมติทั้งหมด 152 เสียงทั้งนี้ มีมติให้ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีกครั้ง เนื่องจาก กฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับนี้สามารถใช้บังคับได้หลังประกาศในราชกิจจาฯ 120 วัน

พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ที่มีโอกาสจะได้ประกาศใช้ภายในปีนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่แสดงว่าประเทศไทยยอมรับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เราพร้อมแล้วที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนทุกเพศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการแก้ไขและร่างกฎหมายสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศเพิ่มเติมอีกหลายหลายฉบับ

การเป็นเจ้าภาพงาน World Pride จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยส่งผลดีกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อย่าง ธุรกิจแฟชั่น , ผับบาร์สำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ, การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องในไทย ถือเป็นการปักหมุดหมายเการท่องเที่ยวไทยยุคใหม่ ให้ประเทศไทยเป็น สวรรค์ของความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต้องมาเยือน


อ่านให้ฟัง
 
00:03

ส่องคอมเมนต์โซเชียลฯ คนดัง นักการเมือง ต่างร่วมแสดงความยินดี หลังสภาฯไฟเขียว "สมรสเท่าเทียม" วาระ 3 สร้างประวัติศาสตร์ชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดประกาศใช้ภายในปีนี้"กม.สมรสเท่าเทียม" ผ่านแล้ว สร้างประวัติศาสตร์ชาติแรกอาเซียน


"Pride Month 2567" อัปเดต "สมรสเท่าเทียม" กฎหมายถึงขั้นไหน
วันนี้ 18 มิ.ย.2567 เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ประชุมวุฒิสภา โดย สว. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) ในวาระ 3 

ด้วยคะแนนเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 18 ไม่ลงคะแนนเสียง 0 ผู้ลงมติ 152 เสียง

หลังที่ประชุม วุฒิสภาเห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าว โดยไม่มีการแก้ไข ให้ นายกฯ, สส. หรือ สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน

 

หลังจากรอคอยมาอย่างยาวนาน ซึ่งมติครั้งนี้ทำให้ไทยถือเป็นชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีกฎหมายให้ ทุกเพศสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป

มตินี้เกิดขึ้นในเดือน "Pride Month" เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่ม LGBTQ+ หรือ ผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก และทันทีที่สิ้นสุดเสียงขานคะแนน และมตินี้ผ่านฉลุย โลกออนไลน์ก็ต่างออกมาโพสต์ติดแฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม เพื่อร่วมยินดี จนขึ้นอันดับเทรนในแอปพลิเคชัน X

 

หลายคนต่างร่วมแสดงความยินดี รวมถึงพรรคการเมืองก็ต่างออกมาโพสต์ด้วยเช่นกัน ขณะที่ ทำเนียบรัฐบาล เตรียมจัดงานเลี้ยงเพื่อแสดงความยินดี กับจุดเริ่มต้นของกฎหมายสมรสเท่าเทียม บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะร่วมเปิดงานผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เย็นวันนี้

เริ่มต้นที่ พรรคก้าวไกล โพสต์ สิ้นสุดการรอคอย #สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว เตรียมประกาศใช้เป็นกฎหมายในปีนี้ ขอบคุณทุกคนที่เดินบนเส้นทางนี้ร่วมกัน พร้อมระบุ 

18 มิถุนายน 2563 ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อก้าวไกล ยื่นร่างสมรสเท่าเทียมเข้าสภาฯ
18 มิถุนายน 2567 สมรสเท่าเทียมผ่านการพิจารณาวาระ 2-3 ในชั้น สว.
 

ตลอดการเดินทาง 4 ปี จากจุดเริ่มต้นที่มีคำถามว่า "ทำเรื่องอื่นก่อนไหม" สังคมพร้อมหรือยัง เรื่องนี้จะเป็นไปได้หรือในสังคมไทย แต่การรณรงค์ขับเคลื่อนอย่างแข็งขันของหลายภาคส่วน ทำให้สมรสเท่าเทียมเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ ปลุกกระแสความตื่นตัว การตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและสิทธิในการสมรส ที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศเคยถูกพรากไป

จนถึงวันนี้ "ความเปลี่ยนแปลง" ไม่ได้เป็นเพียงกระแส แต่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว

ด้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โพสต์แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้เช่นกัน โดยระบุ ขอขอบคุณ ทุกคนและหน่วยงาน องค์กร พรรคการเมือง ทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการผลักดันสมรสเท่าเทียม ให้สำเร็จได้

ถือเป็นก้าวแรกในการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ไทยเป็นชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้นจริง
 
สถานีต่อไป World Pride 2030 ประเทศแรกในเอเชีย
เช่นเดียวกับ พรรคเพื่อไทย ที่ก็ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการประกาศใช้ ยังมี พ.ร.บ. อื่น ๆ ที่กำลังเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร คือ ผลงานสำคัญที่รัฐบาลและพรรคฯต้องการสนับสนุนความหลากหลายทางเพศให้เกิดขึ้นจริง

World Pride 2030 ไม่ใช่เพียงความสำเร็จด้านเศรษฐกิจของคนไทยและกลุ่ม LGBTQ+ เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสให้ประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียนแสดงศักยภาพการเป็นพื้นที่แห่งการแสดงออก ส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพให้กับคนทุกเพศ รวมทั้งสร้างการตระหนักรู้เรื่องสิทธิและความหลากหลายทางเพศในระดับบุคคล ชุมชนและสังคม ให้กับคนในภูมิภาคนี้อีกด้วย

เมื่อกฎหมายผ่านเรียบร้อยแล้ว จะเป็นแรงกระเพื่อมที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งของสังคมไทย ที่ทั้งมอบสิทธิ ให้พื้นที่และยอมรับเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้มีสิทธิ์ มีศักดิ์ศรีอย่างที่ควรมี พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโอกาสใหญ่ระดับโลกอย่าง World Pride 2030

วันนี้ความเปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นเพียงกระแส แต่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว  ขอร่วมเฉลิมฉลองกับก้าวสำคัญของความเท่าเทียมในสังคมไทย และขอบคุณทุกคนที่เดินบนเส้นทางนี้ร่วมกัน

.

.

ขอบคุณที่มา : 

https://moneyandbanking.co.th/2024/113046/ 
https://www.thaipbs.or.th/news/content/341151


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้